วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559







มะกรูด


คุณค่าทางโภชนาการ


                สารเคมีที่สำคัญที่พบได้ในผลมะกรูดก็คือน้ำมันหอมระเหย นอกจากนี้มะกรูดยังประกอบด้วยน้ำ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินบี1 วิตามินบี2 ไนอาซีน และวิตามินซีอีกด้วย






สรรพคุณทางยา


                มะกรูดเป็นสมุนไพรคู่ครัวไทยมายาวนาน

                ผลดิบ ใช้สระผม ทำให้ผมดกเงางาม ป้องกันผมหงอก แก้ปัญหาผมร่วง ความเปรี้ยวของน้ำมะกรูดยังมีฤทธิ์เป็นกรดช่วยขจัดคราบแชมพูหรือชำระล้างสิ่งอุดตันต่างๆ ตามรูขุมขนบนหนังศีรษะ แล้วยังทำให้ผมหวีง่ายอีกด้วย

                เปลือก ช่วยแก้ลม หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ด้วยการใช้เปลือกมะกรูดฝานบางๆ ชงกับน้ำเดือดใส่การบูรเล็กน้อย แล้วนำมารับประทานแก้อาการ

                ใบ ช่วยยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยต่อต้านมะเร็งได้ เนื่องจากใบมะกรูดนั้นอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน

                น้ำมันมะกรูด มีฤทธิ์อ่อนๆ ช่วยยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อได้






การเตรียมดินแปลงปลูก


                มะกรูดปลูกได้ดีในดินทุกชนิด การเตรียมดินปลูกให้ขุดหลุมขนาด 50 x 50 x 50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยขี้วัวผสมดิน เมื่อนำต้นกล้ามะกรูดลงปลูกแล้วให้รดน้ำ คลุมด้วยฟาง และทำหลักป้องกันต้นโยก


    พืชจะมีความสมบูรณ์ แข็งแรงดี

การปลูก

                การปลูกระยะประชิด เป็นการปลูกเพื่อเก็บใบไปขาย สามารถตัดใบขายได้ทุก 3-4 เดือน การปลูกจึงควรเว้นระยะห่าง 4 x 4 เมตร

                มะกรูดเติบโตได้ดีกับดินร่วนปนทราย ที่มีการระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขัง แม้มะกรูดเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมาก แต่น้ำก็มีความจำเป็นต่อการแตกใบอ่อนของมะกรูดเป็นอย่างยิ่ง

                แต่ถ้าต้องการเพื่อขายผลใบของมะกรูดจะเล็ก แต่ผลใหญ่และดก ปุ๋ยที่ใส่ให้ใช้สูตร 21-7-14 หรือ 20-4-16







การดูแลรักษา


                ช่วงที่ปลูกมะกรูดใหม่ๆ ต้องหมั่นรดน้ำให้ชุ่มชื้น จะทำให้พืชตั้งตัวได้เร็ว แตกใบอ่อนได้ดี และควรใส่ปุ๋ยเพิ่มเป็นครั้งคราว อาจเป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือชีวภาพก็ได้ เน้นที่มีไนโตรเจนสูงๆ เช่น สูตร 20-14-14 หรือสูตร 15-15-15 

                ส่วนศัตรูพืชต้องระวังหนอนผีเสื้อกลางคืนที่คอยกัดกินใบและยอดอ่อน







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น