วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559







มะกรูด


คุณค่าทางโภชนาการ


                สารเคมีที่สำคัญที่พบได้ในผลมะกรูดก็คือน้ำมันหอมระเหย นอกจากนี้มะกรูดยังประกอบด้วยน้ำ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินบี1 วิตามินบี2 ไนอาซีน และวิตามินซีอีกด้วย






สรรพคุณทางยา


                มะกรูดเป็นสมุนไพรคู่ครัวไทยมายาวนาน

                ผลดิบ ใช้สระผม ทำให้ผมดกเงางาม ป้องกันผมหงอก แก้ปัญหาผมร่วง ความเปรี้ยวของน้ำมะกรูดยังมีฤทธิ์เป็นกรดช่วยขจัดคราบแชมพูหรือชำระล้างสิ่งอุดตันต่างๆ ตามรูขุมขนบนหนังศีรษะ แล้วยังทำให้ผมหวีง่ายอีกด้วย

                เปลือก ช่วยแก้ลม หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ด้วยการใช้เปลือกมะกรูดฝานบางๆ ชงกับน้ำเดือดใส่การบูรเล็กน้อย แล้วนำมารับประทานแก้อาการ

                ใบ ช่วยยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยต่อต้านมะเร็งได้ เนื่องจากใบมะกรูดนั้นอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน

                น้ำมันมะกรูด มีฤทธิ์อ่อนๆ ช่วยยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อได้






การเตรียมดินแปลงปลูก


                มะกรูดปลูกได้ดีในดินทุกชนิด การเตรียมดินปลูกให้ขุดหลุมขนาด 50 x 50 x 50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยขี้วัวผสมดิน เมื่อนำต้นกล้ามะกรูดลงปลูกแล้วให้รดน้ำ คลุมด้วยฟาง และทำหลักป้องกันต้นโยก


    พืชจะมีความสมบูรณ์ แข็งแรงดี

การปลูก

                การปลูกระยะประชิด เป็นการปลูกเพื่อเก็บใบไปขาย สามารถตัดใบขายได้ทุก 3-4 เดือน การปลูกจึงควรเว้นระยะห่าง 4 x 4 เมตร

                มะกรูดเติบโตได้ดีกับดินร่วนปนทราย ที่มีการระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขัง แม้มะกรูดเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมาก แต่น้ำก็มีความจำเป็นต่อการแตกใบอ่อนของมะกรูดเป็นอย่างยิ่ง

                แต่ถ้าต้องการเพื่อขายผลใบของมะกรูดจะเล็ก แต่ผลใหญ่และดก ปุ๋ยที่ใส่ให้ใช้สูตร 21-7-14 หรือ 20-4-16







การดูแลรักษา


                ช่วงที่ปลูกมะกรูดใหม่ๆ ต้องหมั่นรดน้ำให้ชุ่มชื้น จะทำให้พืชตั้งตัวได้เร็ว แตกใบอ่อนได้ดี และควรใส่ปุ๋ยเพิ่มเป็นครั้งคราว อาจเป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือชีวภาพก็ได้ เน้นที่มีไนโตรเจนสูงๆ เช่น สูตร 20-14-14 หรือสูตร 15-15-15 

                ส่วนศัตรูพืชต้องระวังหนอนผีเสื้อกลางคืนที่คอยกัดกินใบและยอดอ่อน












ชะอม

คุณค่าทางโภชนาการ 

       ชะอมมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี1 และวิตามินบี2




สรรพคุณทางยา 

  • ยอดอ่อน ช่วยลดความร้อนในร่างกายได้

  • ราก นำไปต้ม ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ลดกรด จุกเสียด แน่นท้อง และขับลมในกระเพาะอาหาร





การเตรียมดินแปลงปลูก 

       การเตรียมดิน ชะอมชอบดินค่อนข้างร่วน ไม่เหนียวมาก ไม่เป็นทรายจัด นำดินที่เตรียมไว้กรอกใส่ถุงพลาสติกดำให้เต็ม กดให้แน่น นำกิ่งที่เตรียมไว้มาปักชำลงในถุงให้จมลงไปครึ่งหนึ่ง เอียงเล็กน้อย ถุงละ 2 กิ่ง กดดินให้แน่น วางไว้ในร่มรำไร รดน้ำทุกวันเช้า-เย็น ประมาณ 15 วัน กินชะอมจะแตกยอดออกมายาวประมาณ 4 - 5 นิ้ว ให้แยกชะอมมาเป็นกลุ่มๆ อย่าให้หนาเกินไป


ช่วยให้พืชโตไว ใบเขียว ลำต้นสมบูรณ์แข็งแรง

การปลูก

        การปลูกชะอมให้ขุดดินเป็นร่องลึกประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร แต่ละร่องห่างกันประมาณ 1.5 เมตร แต่ละหลุมห่างกันประมาณ 50 เซนติเมตร เมื่อนำชะอมลงปลูกแล้ว กดดันให้แน่น รดน้ำบ่อยๆ จนมีอายุ 1 เดือน ชะอมก็พร้อมให้ตัดยอด




การดูแลรักษา 

        การรดน้ำ เมื่อชะอมมีอายุประมาณ 3 เดือน ให้รดน้ำวันเว้นวันแต่อย่าให้แฉะเกินไป เพราะจะทำให้รากเน่า
        การใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ประมาณ 15 วันต่อครั้ง







ขี้เหล็ก


คุณค่าทางโภชนาการ



                มีสารอาหารหลายอย่าง คือ วิตามินเอและวิตามินซีค่อนข้างสูง





สรรพคุณทางยา



                ราก ใช้รักษาไข้ แก้ไข้ ไข้กลับ ไข้หนาวๆร้อนๆ บำรุงธาตุ รักษาโรคเหน็บชา

                ใบ รักษาโรคบิด รักษาโรคเบาหวาน แก้ร้อนใน รักษาฝีมะม่วง ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว แก้กระษัย เป็นยาระบาย แก้ระดูขาว รักษาโรคเหน็บชา ลดความดันโลหิตสูง ขับพยาธิ รักษาอาการนอนไม่หลับ

                ดอก รักษาโรคเส้นประสาท นอนไม่หลับ รักษาโรคหืด รักษาโรคโลหิตพิการ ผายธาตุ รักษารังแค ขับพยาธิ





การเตรียมดินแปลงปลูก




                เพาะเมล็ดในถุงหรือในแปลงเพาะ เมื่อต้นโตประมาณ 15-30 เซนติเมตร จึงย้ายปลูก ขี้เหล็กเป็นไม้ยืนตรงที่มีความทนทานสูง ระบบรากดี นิยมขุดหลุมปลูกขนาด 80 x 80 x 80 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ระยะปลูก 2-3 เมตร ควรมีการตัดแต่งกิ่งและให้ปุ๋ยทุกปียอดอ่อนและช่อดอกจะได้แตกเป็นปริมาณมาก และลำต้นจะได้ไม่สูงมากนัก


                ขี้เหล็กจะเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนสภาพภูมิอากาศชื้น กึ่งชื้นและแห้งแล้ง ในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่มากนัก ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 500-700 มิลลิเมตรต่อปี ชอบดินลึก มีการระบายน้ำดี ดินลูกรังและดินหินปูนก็สามารถขึ้นได้ดี แต่ไม่ชอบดินน้ำขัง เมื่อเลือกพื้นที่ได้แล้วหลังจากนั้นก็เตรียมหลุมปลูกโดยให้หลุมมีขนาด 30 x 30 เซนติเมตร ลึกประมาณ 40 เซนติเมตร



ช่วยให้พืชแข็งแรง    ผลผลิตคุณภาพดี





การปลูก


                ถ้ามีหญ้าแห้งหรือฟางก็ควรใส่รองก้นหลุมลงไปด้วยให้ความลึกของหลุมเหลือ 10-15 เซนติเมตร หลังจากวางกล้าลงไปแล้วให้กลบดินและเหยียบให้แน่น และควรใช้เชือกผูกกล้าไม้กับหลักที่แสดงระยะปลูกไว้ด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้ต้นไม้ล้มและทำต้นไม้ตั้งตัวได้เร็ว












ต้นหอม
คุณค่าทางโภชนาการ
                ต้นหอมอุดมไปด้วยวิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส ลดคลอเลสเตอรอล เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย


สรรพคุณทางยา

                สามารถนำใบ ต้น และหัวมารักษาอาการได้โดย
                ต้น กินทั้งต้นต่อเนื่องสดๆ จะช่วยลดไขมันในเส้นเลือด รวมทั้งบำรุงหัวใจ
                ใบ ใช้ใบ หรือก้านต้นหอม 5-6 ก้านต้มกับขิง 2 แว่น กรองเอาน้ำมาดื่ม ช่วยขับเหงื่อ ลดไข้
                ใบและหัว นำมาทุบให้แตกใส่เหล้าขาว ใช้แก้หวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล


การเตรียมดินแปลงปลูก
                ขุดดินลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร ตากดินไว้ 5-7 วัน แล้วผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก พรวนดินให้ละเอียด เก็บเศษหินกำจัดวัชพืช ยกแปลงเป็นร่องสูงขนาดความกว้าง 1 เมตร ความยาวแล้วแต่พื้นที่ว่าง จากนั้นปรับหน้าดินให้เรียบ
การปลูก
1. การปลูกลงแปลง : รดน้ำแปลงให้ชุ่ม คัดเลือกหัวพันธุ์หอมที่มีรากติดอยู่ แกะกลีบหัวพันธุ์ออกมาเล็กน้อย แล้วปักหัวพันธุ์ลงดินประมาณครึ่งหัว เว้นระยะห่างระหว่างต้นและระหว่างแถว 15 เซนติเมตร จากนั้นนำหญ้าหรือฟางแห้งมาคลุมหน้าดินก่อนรดน้ำให้ชุ่ม

2. การปลูกลงกระถาง :  เตรียมดินผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกใส่ในกระถางให้มีความสูง 20-25 เซนติเมตร พรวนให้ร่วนพร้อมเกลี่ยหน้าดินให้เรียบแล้วรดน้ำจนชุ่ม แกะกลีบหัวพันธุ์หอมที่มีรากโผล่เล็กน้อย นำมาปักลงดินให้ลึกประมาณครึ่งหัว จากนั้นนำฟางข้าวหรือแกลบมาคลุมดินเพื่อรักษาความชื้น เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่ม





การดูแลรักษา


                รดน้ำเช้า-เย็น เมื่อต้นหอมเริ่มมีใบยาวให้ลดการให้น้ำเหลือเพียงวันละครั้ง เมื่อต้นหอมอายุ 15-20 วันให้ใส่ปุ๋ยสูตร 20-10-10 หรือสูตร 46-0-0 พยายามรักษาความชื้นให้ดินไว้ โดยการนำฟางแห้ง หญ้าแห้ง เปลือกถั่วลิสงหรือแกลบดินคลุมหน้าดินไว้ เมื่อต้นหอมมีอายุ 30-35 วัน หรือมีความสูงประมาณ 1 ฟุต ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้














ขิง

คุณค่าทางโภชนาการ

               ขิงอุดมไปด้วยเหล็ก ใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงเลือด กระดูกและฟัน




สรรพคุณทางยา

                สามารถนำส่วนต่างๆมาใช้รักษาอาการได้หลากหลาย
                เหง้า ใช้เหง้าแก่ทุบหรือบดเป็นผง ชงกับน้ำดื่ม ช่วยแก้อาการคลื่นไส้ จุกเสียด แน่นท้อง เหง้าสดนำมาคั้นน้ำผสมน้ำมะนาวและเกลือ จิบแก้ไอ ขับเสมหะ หรือใช้เหง้าขิงต้มกับน้ำตาลทรายแดงและพุทราแห้ง ช่วยบรรเทาอาการปวดกระเพาะอาหาร
                ลำต้น ทุบให้แตกนำมาต้มกับน้ำดื่มช่วยแก้ไข้ ร้อนใน
                ใบ นำมาตำกับเหล้าขาวใช้พอกแก้ฟกชำ หากนำมาต้มน้ำดื่มจะช่วยรักษาเลือดกำเดา
                ราก ช่วยให้เจริญอาหาร แก้จุกเสียดแน่นท้อง
                แก่น เอามาฝนทำยาแก้คัน


การเตรียมต้นกล้า
                เลือกเหง้าขิงแก่อายุ 10-12  เดือน ตัดเป็นท่อนโดยเลือกตัดบริเวณที่มีตาบนแง่งขิง 2-3 ตา ให้ได้ความยาวประมาณ 2 นิ้ว จากนั้นนำท่อนพันธุ์ไปแช่น้ำยากำจัดเชื้อราประมาณ 10-15 นาที แล้วนำมาผึ่งลมให้แห้ง


 
การเตรียมดินแปลงปลูก

                ขุดไถดินลึก 15-20 เซนติเมตร ตากแดดทิ้งไว้ 5-7 วัน จากนั้นใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก แล้วไถพรวนให้เข้ากัน เก็บเศษหินและกำจัดวัชพืช ยกแปลงให้สูงโดยให้มีความกว้าง 1 เมตร ความยาวแล้วแต่ขนาดของพื้นที่ หรือจะทำเป็นร่องปลูกก็ได้ โดยให้ระยะห่างร่องประมาณ 50-70 เซนติเมตร




การปลูก

1. การปลูกลงแปลง : ขุดหลุมบริเวณแปลงปลูกลึกประมาณ 5 เซนติเมตร แล้วนำท่อนพันธุ์ขิงที่เตรียมไว้วางในแนวตั้ง กลบด้วยดินร่วนหนา 2-5 เซนติเมตร ใช้ฟางหรือหญ้าแห้งปิดคลุมหน้าดินอีกครั้งก่อนรดน้ำให้ชุ่ม เว้นระยะระหว่างหลุมประมาณ 50 เซนติเมตร และเว้นระยะระหว่างแถวประมาณ 70 เซนติเมตร
2. การปลูกลงกระถาง : เตรียมดินผสมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และกากถั่วใส่ลงกระถางให้มีความสูงของดินอยู่ที่ 25-30 เซนติเมตร จากนั้นขุดหลุมลึก 5 เซนติเมตร แล้ววางท่อนพันธุ์ขิงในแนวตั้ง ก่อนกลบด้วยดินร่วนและปิดผิวดินด้วยหญ้าหรือฟางแห้ง ก่อนรดน้ำให้ชุ่ม






การดูแลรักษา

                ในระยะแรกควรรดน้ำให้ชุ่มเช้า-เย็น แต่หลังจากงอกต้นอ่อนแล้วสามารถลดการให้น้ำลงได้เหลือวันละครั้ง ระวังอย่าให้น้ำขังเพราะรากอาจจะเน่าและดูแลไม่ให้โดนแสงแดดจัด เพราะขิงอาจโตช้า
                 เมื่อปลูกได้ 1-2 เดือน ของจะแทงหน่อขึ้นมาให้เห็นความสูงประมาณ 20-25 เซนติเมตร เริ่มให้ปุ๋ยคอกหมั่นพรวนดินและกำจัดวัชพืช เมื่อขิงมีความสูง 30-40 เซนติเมตร หรือมีอายุประมาณ 4-5 เดือน ก็สามารถทำการเก็บขิงอ่อนได้ การเก็บขิงสามารถเก็บได้ทุกๆ 12-15 วัน โดยรดน้ำที่แปลงให้ดินอ่อนก่อนแล้วใช้มีดช่วยแซะและตัดแง่งขิงออกมา













แมงลัก


                ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 45-50 วัน




คุณค่าทางโภชนาการ



                แมงลักอุดมไปด้วยวิตามินเอ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก ช่วยป้องกันมะเร็งและหัวใจขาดเลือด และช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย








สรรพคุณทางยา




                สามารถนำใบและเมล็ดมารักษาอาการต่างๆได้



                ใบ ใช้ขับลมในลำไส้ บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หากนำมาต้มน้ำดื่มช่วยรักษาอาการเกี่ยวกับลำไส้ และถ้านำมาตำผสมน้ำเล็กน้อยจะสามารถนำทารักษาเกลื้อนได้



                เมล็ด นำมาแช่น้ำให้พองแล้วดื่มก่อนนอนใช้เป็นยาระบาย





การเตรียมดินแปลงปลูก




                ขุดไถดินลึก 25-30 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักแล้วไถพรวนดินให้ร่วน กำจัดวัชพืชและเศษหิน ยกแปลงให้สูงขึ้นความกว้าง 1 เมตร ความยาวแล้วแต่ขนาดพื้นที่ หลังจากนั้นทำการปรับหน้าดินให้เรียบ







การปลูก




1.             การปลูกลงแปลง : หว่านเมล็ดให้ทั่วแปลง จากนั้นโรยดินกลบบางๆ ใช้หญ้าหรือฟางแห้งปิดคลุมทับหน้าดิน รดน้ำโดยใช้ฝักบัวจนชุ่ม หลังจากนั้นไม่เกิน 1 สัปดาห์เมล็ดจะเริ่มงอกเป็นต้นกล้า รดน้ำเป็นประจำสม่ำเสมอ สังเกตความชื้นบริเวณดินที่แปลง เมื่อต้นกล้าอายุ 1 เดือนให้ถอนแยกโดยจัดระยะต้นให้โปร่ง หรือใช้ระยะระหว่างต้น 20-30 เซนติเมตร



2.             การปลูกลงกระถาง :  เตรียมดินผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกและดินทรายเล็กน้อย ใส่ดินให้มีความสูง 25-30 เซนติเมตร พรวนดินและเกลี่ยหน้าดินให้เรียบ ทำหลุมเล็กๆ หยอดเมล็ดหลุมละ 3-4 เมล็ด กลบด้วยทรายหรือดินละเอียด ปิดหน้าดินด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม รอจนอายุ 1 เดือนให้ถอนกล้าเหลือหลุมละ 2 ต้น







การดูแลรักษา




                หมั่นดูแลรดน้ำ พรวนดิน และกำจัดศัตรูพืชเป็นประจำ อาจให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบ้างเล็กน้อย ในช่วงที่ต้นแมงลักออกดอกให้หมั่นเด็ดดอกทิ้งเพื่อให้ลำต้นและใบเจริญเติบโตเต็มที่



                เมื่อต้นแมงลักมีอายุ 45-50 วัน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ โดยการใช้มีดคมๆตัดส่วนกิ่งที่ติดยอด วิธีการนี้ จะทำให้กิ่งเหล่านั้นสามารถแตกยอดใหม่ๆออกมาได้อีกด้วย